http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ตร.เตือน 5 ลิงก์มิจฉาชีพ ห้าม “กด-กรอก-ติดตั้ง”

ตร.เตือน 5 ลิงก์มิจฉาชีพ ห้าม “กด-กรอก-ติดตั้ง”

ตร.เตือน 5 ลิงก์มิจฉาชีพ "ห้ามกด ห้ามกรอก ห้ามติดตั้ง" ป้องกันสูญเงิน พบส่วนใหญ่อ้างเป็นหน่วยงานราชการ หลอกกดลิงก์ดูดเงิน-กรอกข้อมูลส่วนบุคคล-หลอกลงทุน-เว็บพนัน-เงินกู้วันนี้ (25 ก.พ.2567) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพพัฒนารูปแบบในการหลอกลวงประชาชนอยู่เสมอ โดยนำหลักจิตวิทยา “รัก โลภ ตกใจ เชื่อใจ” มาปรับใช้หลอกล่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ
และมักพบว่ากลุ่มมิจฉาชีพจะนำลิงก์รูปแบบต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือ หากผู้เสียหายหลงเชื่อกดลิงก์แล้วกรอกข้อมูล หรือติดตั้งแอปพลิเคชันจากลิงก์ดังกล่าว จะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

5 รูปแบบลิงก์ลวงกด

“ลิงก์ดูดเงิน” คือ ลิงก์ที่หลอกให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน หรือติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อทำธุรกรรมถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหาย เช่น หลอกให้กรอกข้อมูลบัญชีอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง หลอกให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิต หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องระยะไกล

ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือหลักของแก๊งคอลเซนเตอร์ ที่อาจอ้างหน่วยงานราชการต่าง ๆ สร้างเนื้อหาให้ผู้เสียหายตกใจ โลภ เชื่อใจ แล้วหลงเชื่อ เช่น มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องผิดกฎหมาย, ได้รับเงินคืนจากกรณีต่าง ๆ (มิเตอร์ไฟฟ้า, เงินบำเหน็จบำนาญ, คืนภาษี) เป็นผู้โชคดีจากแคมเปญหรือเทศกาลได้รับเงิน ของขวัญ

“ลิงก์หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล” คือ ลิงก์ที่นำไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่มีรูปแบบคล้ายกับเว็บไซต์ของผู้ให้บริการต่าง ๆ หากหลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลบัญชีผู้ใช้ หรือรหัสผ่าน กลุ่มมิจฉาชีพก็จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ

“ลิงก์หลอกลงทุน” คือ ลิงก์ที่นำไปสู่เว็บไซต์หรือติดตั้งแอปพลิเคชันลงทุนปลอม หลอกล่อให้ผู้เสียหายลงทุนในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง โดยอ้างว่าลงทุนแล้วได้กำไรมากในระยะเวลาสั้น ๆ มีการนำภาพนักธุรกิจหรือองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาประกอบเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

“ลิงก์เว็บพนัน” คือ ลิงก์ที่นำไปสู่เว็บไซต์การพนันออนไลน์ ซึ่งจะมีทั้งเว็บไซต์การพนันออนไลน์จริง ๆ และเว็บไซต์การพนันออนไลน์ปลอม อาจมีโปรโมชันหลอกล่อให้หลงเข้าไปเล่นการพนัน หากผู้เสียหายหลงเชื่อเข้าเล่นเว็บพนัน นอกจากจะเสียทรัพย์สินแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

“ลิงก์เงินกู้ปลอม หรือผิดกฎหมาย” คือ ลิงก์ที่นำไปสู่เว็บไซต์หรือบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงให้โอนเงินค่าใช้จ่ายในการกู้เงินก่อน แต่ไม่ได้รับเงินจริง หรือนำไปสู่เว็บไซต์หรือบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มเงินกู้นอกระบบ เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราและมีการทวงหนี้โดยผิดกฎหมาย เช่น โทรมาขู่บังคับหรือต่อว่าด้วยถ้อยคำรุนแรงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะนำให้ประชาชนปฏิบัติตามหลัก “ห้ามกด ห้ามกรอก ห้ามติดตั้ง” ป้องกันตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ คือ ห้ามกดลิงก์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือไม่น่าไว้วางใจ“ห้ามกรอก” ห้ามกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลบัญชีธุรกรรมทางการเงิน หรือข้อมูลบัตรเครดิต ในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ไม่น่าเชื่อถือ, “ห้ามติดตั้ง” ห้ามติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่น่าเชื่อถือ และตรวจโทรศัพท์มือถือว่ามีแอปพลิเคชันแปลกปลอมใดติดตั้งอยู่หรือไม่หากประชาชนได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ บนเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หรือสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.thaipbs.or.th/news/content/337427


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,400
Page Views2,010,573
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view